![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgsnntVNqAZTSKcf43qDW-R9QRl3qOLctAJmzwhVAGLksPAE1B10HgBzVT1u2uTnMvGkDyV7d9OsFWJk-95XgeK3nh_KNKTyCymWFJd43r7QYHydhfSzjgocekO9T_e0bFSp2j5mm1Qxxo/s320/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5-09.jpg)
ถึงแม้วันนี้ที่ กทม.จะมีฝนตกจนน้ำท่วมหมู่บ้านของแตบ แต่แตบก็มั่นใจว่าในจังหวัดทางแถบภาคเหนือและอิสานตอนบนคงอากาศเย็นและเริ่มมีหมอกลงแล้วแน่ๆเลย แตบเป็นหญิงสาวแสนสวยสดใสที่ชื่นชอบฤดูหนาวมากๆถึงมากที่สุดค่ะ(ตอนเด็กๆชอบเล่นน้ำฝน แต่ปัจจุบันไม่ชอบแล้วค่ะ เปียกปอนสกปรก และทำให้เดินทางลำบาก..ลองนึกภาพหญิงสาวแสนสวยอย่างแตบใส่ส้นเข็มเลาะเลียบเดินหลบน้ำนองไปตามคันนาหน้าหมู่บ้านเพื่อขึ้นรถประจำทางสิคะ แอร๊ยยยยยยยยยย..อารมณ์เสีย!) บังเอิญว่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ แตบรู้สึกว่าอากาศช่วงเช้าๆช่างเย็นสบายดีเหลือเกิน วันนั้นแตบยืนรับลมที่ระเบียงบ้าน มีไอเย็นจากลมหนาวมาปะทะกิ่งตะขบหน้าบ้านก่อนจะหอบหิ้วใบไม้แห้งประมาณ 1 กำมือมาทิ้งลงบนผมสลวยสวยเก๋ทรงฟาร่าของแตบที่เพิ่งผ่านการสระล้างมาใหม่ ใช่ค่ะฤดูกาลกำลังจะเปลี่ยนผันไปแล้วจริงๆ หลังสิ้นสุดฤดูฝนในปลายเดือนตุลาคมนี้ ฤดูหนาวก็จะตะเกียกตะกายเข้ามาทักทายประเทศไทยอย่างช้าๆ ชั่วพลันแตบก็นึกถึงฤดูกาลแห่ง "ป่าเปลี่ยนสี" ขึ้นมาได้ ก็ช่วงนี้จนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้แหละค่ะ ที่ทุกพื้นที่ที่มี "ป่าผลัดใบ" จะมีปรากฎการป่าเปลี่ยนสีให้เห็น ก่อนจะทิ้งใบแห้งเหี่ยวหลากสีสันให้ร่วงหล่นไปเป็นปุ๋ยดินต่อไป
ตอนที่แตบยังเป็นกะเทยหัวเกรียนวัยมัธยมต้นอยู่นั้น แตบต้องเดินทางไปเรียนในตัวอำเภอที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 30 กม.(รวมระยะทางไป-กลับ ก็ 60 กม.เท่านั้นเองค่ะ)การเดินทางก็อาศัยรถรับ-ส่งนักเรียนของหมู่บ้านค่ะ ฟังดูหรูหรามีคลาสนะคะ แต่ว่า..มันเป็นรถสองแถวขนาดใหญ่คันเก่าๆเท่านั้นเองค่ะ ด้วยความที่มีจำนวนนักเรียนมากเกินไป คนขับรถรถจึงจัดให้เด็กผู้หญิงนั่งเบียดกันในส่วนผู้โดยสารทั่วไป แล้วให้เด็กผู้ชายปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคา(สมัยนั้นยังไม่มีกฏหมายห้ามค่ะ)นึกสภาพดูนะคะว่าแตบต้องตากแดดตากลมรวมกับเพื่อนๆผู้ชายหัวเกรียนที่พร้อมจะข่มขืนแตบบนหลังคารถได้ทุกเมื่อ ตั้งแต่เรียน ม.1 ยัน ม.3 เลยทีเดียว อดอิจฉาริษยาเพื่อนๆผู้หญิงที่พร้อมใจกันทำหน้าแอ๊บแบ๊วอยู่ในชั้นที่ปลอดภัยไม่ได้จริงๆ..แต่คิดไปคิดมา พวกเธอก็คงอิจฉาแตบเหมือนกันแหละค่ะ ฮิๆ ด้วยความที่ว่าจังหวัดของแตบอยู่ท่ามกลางขุนเขาน้อยใหญ่นี้เอง เวลาเดินทางออกจากบ้าน เราจึงได้ชมวิวทิวทัศน์สวยงามโดยไม่ตั้งใจทุกวัน ยิ่งช่วงต้นฤดูหนาวอันเป็นช่วงที่ป่าเริ่มเปลี่ยนสีนั้น ภาพวิวทิวทัศน์ที่เคยเห็นเป็นสีเขียวชะอุ่มจนชินตาก็แปรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง,ส้ม,แดง และสีน้ำตาล ของใบไม้นับล้านๆต้น สอดแทรกสลับกันอยู่ตามรายทางเรื่อยไปจนถึงขุนเขาใกล้ไกล..โอวพระเจ้า มันเป็นภาพที่แสนสวยงามมากๆค่ะ ถึงแม้อากาศหนาวเหน็บในตอนเช้าตรู่จะจงใจทรมานเด็กน้อยใสซื่อบริสุทธิ์อย่างแตบ แต่แตบก็รู้สึกดีทุกครั้งที่ได้เห็นความสวยงามของใบไม้หลากสีที่กระจัดกระจายอยู่ในปุยหมอกขาวนุ่มนั้น มันงดงามราวกับภาพวาดของจิตรกรเอกเลยทีเดียวเชียวค่ะ นานนับ 20 กว่าปีแล้วค่ะ ที่แตบไม่ได้ชมบรรยากาศจริงของป่าเปลี่ยนสีอีกเลย ทั้งๆที่เคยให้สัญญากับตัวเองอย่างแน่วแน่ว่า สักวันแตบจะต้องกลับไปสัมผัสบรรยากาศแห่งความทรงจำอันแสนสวยงามนั้นให้ได้
หากใครมีโอกาศเดินทางไปแถบภาค เหนือ และ อิสานในช่วงต้นฤดูหนาว ก็อย่ามัวแต่นั่งหลับน้ำลายยืด หรือมุ่งหน้าขับรถเอาเป็นเอาตายอย่างเดียวนะคะ ทอดสายตามองออกไปนอกกระจกรถเสียบ้าง..สิ่งสวยงามสองฟากฝั่งถนนกำลังรอทักทายคุณอยู่ค่ะ
ประดับสมองนิดหนึ่งค่ะ
ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) เป็นระบบนิเวศน์ป่าชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ป่าเบญจพรรณ : ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้ง การกระจายของป่าเบญจพรรณในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมต่ำลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนบน มีปรากฏที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 800 เมตร หรือสุงกว่านี้ในบางจุด
2. ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง : พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ และมีไฟป่าเป็นประจำ ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ แต่อาจแคบกว่าเล็กน้อยทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง มีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งจัด กักก็บน้ำได้เลว เช่น บนสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร
3. ป่าหญ้า : เกิดจากการทำลายสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรม มีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วประเทศในบริเวณที่ป่าถูกทำลายและเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี
ขอบคุณอ้างอิงจาก http://www.dnp.go.th/Research/Knowledge/type%20of%20forest.html
3 ความคิดเห็น:
สวัสดี ครับ คุณพี่แตบ คราวก่อนบอกว่าเป็นภรรยาน้อยท่านประภรรส์ อยุ่ไม่ใช่หรอ คับ ผม กลับบ้านที่ ตจว. ไม่กี่วัน เปลี่ยนเป็น สาวร้ายซะแล้ว ...
วันนี้มาอ่านบทความพี่แตบอีกนะครับ รุ้สึกว่าจะผ่านมรสุมความสุขมาเหมือนๆกันนะครับ แต่เราโชคดีมากที่ได้มีโอกาสสัมผัสบรรยากาสชีวิต วิถีชีวิต แบบนั้น แต่ผมต่างจากพี่แตบ คือผมจะปั่นจักรยาน ไปกลับ วันละ 24กิโลเมตรs ( เติม s ด้วย อิอิอิ) ตั้งแต่ ม.1-ม.6 เลยครับ แต่ไม่มีความรู้สึกว่าเหนื่อยเลย เพราะปั่นไป ก็จะมีเพื่อนจากหมู่บ้านอื่นมาสมทบ เป็น ขบวนจักยานย่อมๆๆ มีควมาสุขครับ ยิ่งต่างจังหวัดดจะมีผลไม่ตามท้องถิ่น เราก็จะจอดเก็บมาจิ้มพริกจิ้มเกลือ กัน แล้วแต่ใครจะเตรียม ครับ //แต่พูดถึงฤดูที่ทรมานสุดๆ คงเป็นช่วงหน้าหนาวนี่หละครับ เพราะเวลาปั่นจักรยานฝ่าลมหนาว มันสั่นเลยละ ยิ่งเวลาลงเนินเขาอย่าให้พูดเลย คับ ข้างทางชาวนาก็เริ่มเก็บเกี่ยว ทยอยเกี่ยวเป็น เดือนๆ ละคับ เพราะสมัยก่อนไม่มี รถเกี่ยวข้าว มองดูไม่เหงาเลย แต่สมัยนี้เกี่ยววันเดียวเสร็จครับ เมื่อเช้าเห็น อยู่หลัดๆๆ เย็นมาเอาไปขายแล้ว เฮอ่ เทคโนโลยี่สมัย ใหม่ เด็กๆ สมัยนี้เขาไม่รุ้จักจักรยานแล้วนะครับ รู้จักแต่ HONDA WAVE // บ้านใหนยังให้ลูกปั่นจักรยานถือว่า เชยแล้ว แต่ผมมองอีกด้านนะ //ปีนี้ผมได้ไปดูทุ่งนาที่ลงทุนด้วยเงินอันน้อยนิดด้วยนะพี่แตบ สวยมากกๆๆ เห็นแล้วชื่นใจ เพราะผมลองใช้ปุ๋ย ชีวภาพ ตามพระราชดำริพ่อหลวงที่ให้ทำเกษตรแบบพอเพียง เสียดายไม่สามารถลงรูปให้พี่แตบดูได้ บรรยากาสท้องทุ่งเหลืองอร่าม สวยมากเลย ใว้วันหลังจะมาอ่านเรื่องราวสนุกๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันใหม่นะครับ //นะชะ
สวัสดีอีกครั้งค่ะน้อง นะชะ
ดีใจ+ภูมิใจจังเลยค่ะที่น้องแวะเวียนเข้ามาอ่านงานเขียนของพี่เรื่อยๆ
สมัยเรียนมัธยมพี่ก็เคยเปรี้ยวปั่นจักรยานไปเรียนเหมือนกัน แต่ระยะทางไปกลับ 60 กม.สำหรับคนตื่นสายอย่างพี่เนี่ย มันโหดสุดๆเลย(ตื่นสายตั้งแต่เด็กยันแก่จริงๆ)สรุปแล้วเปรี้ยวอยู่ได้แค่ 2 วันก็ต้องเลิก มันลำบากเกินไปสำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเป็น "คุณหนู" อย่างพี่
น้องนะชะเล่นบอร์ดที่ไหนเหรอจ๊ะ ยังไงรบกวนส่งข้อความกระซิบบอกด้วยนะว่าน้องใช้ชื่ออะไร?(เดาไม่ผิดคงเป็นคนเหนือที่คุยกันแล้วแน่ๆเลย)
ถ้ามีเวลาก็เขียนเรื่องราวลงบล็อกด้วยก็ดีนะ พี่ชอบชีวิตติดดินและบรรยากาศตาม ตจว.มากๆ สัญญาว่าจะติดตามอ่านเรื่องของน้องแน่นอน จุ๊บๆค่ะ
ดีคับ
ผมเองก็ชอบอ่านเรื่องที่พี่แตบเขียนนะคับ ชอบบรรยากาศที่เป้นท้องทุ่งอาจเพราะสมัยนี้หาบรรยากาศแบบนั้นไม่มีแล้ว ถึงแม้จะกลับบ้านไปเพื่อรำลึกถึงอดีตแต่มันก็ไม่มีบรรยากาศเดิมๆ อีกแล้ว ต้นมะม่วงที่เคยปีนป่าย โดดจากยอดมะม่วงลงสู่ผืนน้ำ หรือภาพบรรยากาศวิ่งแย่งมะม่วงหล่น มันก็ไม่มีแล้ว ภาพอันเขียวชอุ่มของต้นไม่ตามธรรมชาติ เปลี่ยนสีเปลี่ยนใบตามฤดูกาลก็ไม่มีแล้ว เพราะสมัยนี้หันไปทางใหนก็ปลูก ต้น AAA หรือต้นยูคาลิปตัส และมียางพารา ประปราย ไม่มีควายเดินกีดขวางทางจราจรเหมือนเมื่อก่อน คำว่ากลิ่นโคลนสาบควายคงไม่มีแล้วจริงใหม พี่แตบ ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนที่เคยมีความทรงจำในอดีต ก้คงอยุ่ในความรู้สึกของเรา // ผมเคยเล่าให้เด็กนักเรียนฟังนะครับสมัยที่สอนหนังสือ ดูเขาจะตื่นเต้นนะครับที่ได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับชนบท ยังไงก็จะติดตามบทความดีดี ของพี่แตบ อีกนะครับ
ปล.ลดความร้ายลงอีกนิด ชีวิตยืดยาวนะครับบบบบ 5555 แซวเล่นนะคับ
แสดงความคิดเห็น