![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhlrqaO6NNrnmYwrm_gdzK7NYlG_rievwwLINe3DXtjkk1Xn0cMp7JqywVyIiKZ5iWhVcnJmivW7TPMJ06yJT9_E5tWOksOott5DXxVor9qQXokKGbH3bUyBKnkSxr2PJAlxHvYCjgXuh0/s320/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9C%E0%B8%B2.jpg)
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แตบดูทีวีช่องหนึ่ง ช่วง "บันทึกคนดี"ได้รับรู้เรื่องราวชีวิตของผู้หญิงผิวคล้ำ รูปร่างท้วม วัย 60 ปีท่านหนึ่ง ที่มีอาชีพเป็นครูใน จ.นครสวรรค์ ท่านชื่อ "ครูบุปผา หมุนสา"หรือที่ชาวบ้านย่านนั้นรู้จักท่านดีในนาม "ครูห่อหมก" ด้วยความสนใจในเรื่องราวชีวิตของครูท่านนี้ แตบจึงค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมจากอินเตอร์เนต เลยทำให้ได้รับรู้เรื่องราวของครูเพิ่มขึ้น
คุณครูบุปผา หรือ "บุปผชาติ หมุนสา" เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนวิชาวดี ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนใน ต.ปากน้ำโพ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าโรงเรียนเอกชนแห่งนี้จะเลิศหรูและเป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกคนมีอันจะกินนะคะ ตรงกันข้าม โรงเรียนดังกล่าวกลับเป็นสถานที่เล่าเรียนของเด็กกำพร้า,เด็กข้างถนน และเด็กยากจนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นทุกอย่างในโรงเรียนแห่งนี้จึง มีแต่คำว่า"ฟรี" ครูบุปผาเริ่มต้นอาชีพครูในตำแหน่งครูช่วยสอนเมื่อ 42 ปีที่แล้ว ด้วยเงินเดือน 150 บาท(หนึ่งร้อยห้าสิบบาท) กระทั่งในปี 2543 ซึ่งเป็นปีที่ครูได้เริ่มต้นทำห่อหมกขายเพื่อหาทุนซื้ออาหารกลางวันมาเลี้ยงเด็กยากจนในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า
"เริ่มทำห่อหมกขายตั้งแต่ปี 2543 จุดประกายเกิดจากช่วงพักเที่ยงวันหนึ่ง มีเด็กมาฟ้องว่าข้าวหายไปจานหนึ่ง แต่ไม่มีใครยอมรับ ก่อนจะจับได้ว่ามีเด็กหญิงปัญญาอ่อนคนหนึ่งขโมยไป แต่พอถามเหตุผลก็ถึงกับอึ้ง เด็กบอกเอาไปให้แม่กินที่บ้าน ที่บ้านไม่มีข้าวเหลือเลย จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เราบอกกับตัวเองว่า ถึงโรงเรียนจะขาดแคลนงบประมาณสักเพียงไหน ก็ต้องเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ให้ได้ จึงเริ่มทำห่อหมกวันละ 150 กระทง กระทงละ 10 บาท วันธรรมดาเดินเร่ขายตามสถานีรถไฟ และวันเสาร์อาทิตย์ไปขายในตลาด ทำให้พอมีรายได้เลี้ยงเด็กๆ ให้อิ่มท้อง"
ครูเผยว่าในช่วงแรกๆ ยอมรับว่ามีความคิดมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ด้านวิชาการเพื่อให้ทัดเทียมมาตรฐานโรงเรียนเอกชนอื่นๆ แต่เมื่อสัมผัสปัญหาเด็กๆ อย่างลึกซึ้ง ก็ทำให้พบว่า วิชาที่ต้องบ่มเพาะพวกเขาควรจะเป็นวิชาชีวิต จึงเบนเข็มมาสอนกิจกรรมเสริมนอกเวลาเรียน เช่น ทำห่อหมก ทอดมัน ทำน้ำเต้าหู้ น้ำยาล้างจานปลอดสารเคมี ปลูกผัก เลี้ยงปลา ตลอดจนโครงการจริยธรรมที่จะสอนให้เป็นคนดีในสังคม เพื่อเติมเต็มทุกสิ่งทุกอย่างให้เด็กอย่างสุดกำลัง เพื่อที่ว่าจะได้นำวิชาชีพไปใช้หาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวในอนาคตได้ นักเรียนโรงเรียนวิชาวดีมีจำนวน 83 คน มีเด็กที่อยู่ระดับ ป.1-6 จำนวน 60 คน และเด็กอีก 23 คน พ่อแม่เอามาฝากให้ครูใหญ่ดูแล ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงทำให้เธอทำห่อหมกเพื่อนำรายได้มาสมทบค่าอาหารกลางวันให้เด็กๆ เนื่องจากเงินสนับสนุนจากภาครัฐเดือนละ 2 หมื่นบาทนั้น ครูต้องแบ่งเป็นค่าอาหารกลาวัน ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าตอบแทนครูน้อยอีก 8 คน แต่หากเป็นกรณีโอกาสพิเศษ เช่น วันเด็ก เธอจะไปขอรับบริจาคสิ่งของตามร้านค้าในตลาดมาห่อของขวัญให้เด็กจับฉลากกันทุกการกระทำของครูบุปผาชาติประจักษ์ชัดว่า เป็นความปรารถนาดีที่มนุษย์คนหนึ่งมีต่อมนุษย์อีกเกือบร้อยคน และยังสอนเด็กเรียนรู้ถึงคำว่าให้ โดยไม่หวังผลตอบแทนอีกด้วย ดอกไม้แห่งโรงเรียนวิชาวดียังคงขจรกลิ่นวิชาชีวิตไม่รู้จักหยุดหย่อน สมควรแล้วแก่การยกย่องว่าเป็นแบบอย่างของคนที่เกิดมาเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง แม้ว่าปัจจุบันครูจะอายุ 60 ปีซึ่งเป็นวัยเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ครูยังยืนยันที่จะทำหน้าที่สร้างคนดีต่อไปจนกว่าวันสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง
แตบได้เห็นรอยยิ้มและน้ำตาแห่งความปิติของครูห่อหมกผู้อารีย์ หลังจากที่ทีมงานรายการเจาะใจเดินทางไปถ่ายทำและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆแล้ว มันเป็นภาพที่น่าประทับใจจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่จริงๆ ความรักความผูกพันธ์ที่ครูมีต่อศิษย์นั้นช่างเป็นสิ่งสวยงามเกินบรรยาย แตบเองถึงแม้จะเติบโตในรั้วโรงเรียนที่ชนบท แต่แตบก็ไม่เคยเห็นครูคนไหน ที่ทำเพื่อศิษย์ได้มากมายเท่าครูบุปผาเลยสักคน นี่แหละค่ะ เรื่องราวและบทบาทของ "ครูห่อหมก" ครู ผู้เป็นยิ่งกว่า"ครู"
คุณผู้อ่านติดตามชมเทปรายการที่นำเสนอเรื่องราวของเธอได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.manytv.com/videos/6855-_15_1_2009_.php
ปล.แตบอยากมีส่วนสนับสนุนครูบุปผาและทำประโยชน์ให้สังคมจังเลยค่ะ คุณผู้อ่านท่านไหนสนใจลองมาแชร์ไอเดียกับแตบดีมั๊ยคะ?
คุณครูบุปผา หรือ "บุปผชาติ หมุนสา" เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนวิชาวดี ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนใน ต.ปากน้ำโพ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าโรงเรียนเอกชนแห่งนี้จะเลิศหรูและเป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกคนมีอันจะกินนะคะ ตรงกันข้าม โรงเรียนดังกล่าวกลับเป็นสถานที่เล่าเรียนของเด็กกำพร้า,เด็กข้างถนน และเด็กยากจนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นทุกอย่างในโรงเรียนแห่งนี้จึง มีแต่คำว่า"ฟรี" ครูบุปผาเริ่มต้นอาชีพครูในตำแหน่งครูช่วยสอนเมื่อ 42 ปีที่แล้ว ด้วยเงินเดือน 150 บาท(หนึ่งร้อยห้าสิบบาท) กระทั่งในปี 2543 ซึ่งเป็นปีที่ครูได้เริ่มต้นทำห่อหมกขายเพื่อหาทุนซื้ออาหารกลางวันมาเลี้ยงเด็กยากจนในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า
"เริ่มทำห่อหมกขายตั้งแต่ปี 2543 จุดประกายเกิดจากช่วงพักเที่ยงวันหนึ่ง มีเด็กมาฟ้องว่าข้าวหายไปจานหนึ่ง แต่ไม่มีใครยอมรับ ก่อนจะจับได้ว่ามีเด็กหญิงปัญญาอ่อนคนหนึ่งขโมยไป แต่พอถามเหตุผลก็ถึงกับอึ้ง เด็กบอกเอาไปให้แม่กินที่บ้าน ที่บ้านไม่มีข้าวเหลือเลย จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เราบอกกับตัวเองว่า ถึงโรงเรียนจะขาดแคลนงบประมาณสักเพียงไหน ก็ต้องเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ให้ได้ จึงเริ่มทำห่อหมกวันละ 150 กระทง กระทงละ 10 บาท วันธรรมดาเดินเร่ขายตามสถานีรถไฟ และวันเสาร์อาทิตย์ไปขายในตลาด ทำให้พอมีรายได้เลี้ยงเด็กๆ ให้อิ่มท้อง"
ครูเผยว่าในช่วงแรกๆ ยอมรับว่ามีความคิดมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ด้านวิชาการเพื่อให้ทัดเทียมมาตรฐานโรงเรียนเอกชนอื่นๆ แต่เมื่อสัมผัสปัญหาเด็กๆ อย่างลึกซึ้ง ก็ทำให้พบว่า วิชาที่ต้องบ่มเพาะพวกเขาควรจะเป็นวิชาชีวิต จึงเบนเข็มมาสอนกิจกรรมเสริมนอกเวลาเรียน เช่น ทำห่อหมก ทอดมัน ทำน้ำเต้าหู้ น้ำยาล้างจานปลอดสารเคมี ปลูกผัก เลี้ยงปลา ตลอดจนโครงการจริยธรรมที่จะสอนให้เป็นคนดีในสังคม เพื่อเติมเต็มทุกสิ่งทุกอย่างให้เด็กอย่างสุดกำลัง เพื่อที่ว่าจะได้นำวิชาชีพไปใช้หาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวในอนาคตได้ นักเรียนโรงเรียนวิชาวดีมีจำนวน 83 คน มีเด็กที่อยู่ระดับ ป.1-6 จำนวน 60 คน และเด็กอีก 23 คน พ่อแม่เอามาฝากให้ครูใหญ่ดูแล ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงทำให้เธอทำห่อหมกเพื่อนำรายได้มาสมทบค่าอาหารกลางวันให้เด็กๆ เนื่องจากเงินสนับสนุนจากภาครัฐเดือนละ 2 หมื่นบาทนั้น ครูต้องแบ่งเป็นค่าอาหารกลาวัน ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าตอบแทนครูน้อยอีก 8 คน แต่หากเป็นกรณีโอกาสพิเศษ เช่น วันเด็ก เธอจะไปขอรับบริจาคสิ่งของตามร้านค้าในตลาดมาห่อของขวัญให้เด็กจับฉลากกันทุกการกระทำของครูบุปผาชาติประจักษ์ชัดว่า เป็นความปรารถนาดีที่มนุษย์คนหนึ่งมีต่อมนุษย์อีกเกือบร้อยคน และยังสอนเด็กเรียนรู้ถึงคำว่าให้ โดยไม่หวังผลตอบแทนอีกด้วย ดอกไม้แห่งโรงเรียนวิชาวดียังคงขจรกลิ่นวิชาชีวิตไม่รู้จักหยุดหย่อน สมควรแล้วแก่การยกย่องว่าเป็นแบบอย่างของคนที่เกิดมาเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง แม้ว่าปัจจุบันครูจะอายุ 60 ปีซึ่งเป็นวัยเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ครูยังยืนยันที่จะทำหน้าที่สร้างคนดีต่อไปจนกว่าวันสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง
แตบได้เห็นรอยยิ้มและน้ำตาแห่งความปิติของครูห่อหมกผู้อารีย์ หลังจากที่ทีมงานรายการเจาะใจเดินทางไปถ่ายทำและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆแล้ว มันเป็นภาพที่น่าประทับใจจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่จริงๆ ความรักความผูกพันธ์ที่ครูมีต่อศิษย์นั้นช่างเป็นสิ่งสวยงามเกินบรรยาย แตบเองถึงแม้จะเติบโตในรั้วโรงเรียนที่ชนบท แต่แตบก็ไม่เคยเห็นครูคนไหน ที่ทำเพื่อศิษย์ได้มากมายเท่าครูบุปผาเลยสักคน นี่แหละค่ะ เรื่องราวและบทบาทของ "ครูห่อหมก" ครู ผู้เป็นยิ่งกว่า"ครู"
คุณผู้อ่านติดตามชมเทปรายการที่นำเสนอเรื่องราวของเธอได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.manytv.com/videos/6855-_15_1_2009_.php
ปล.แตบอยากมีส่วนสนับสนุนครูบุปผาและทำประโยชน์ให้สังคมจังเลยค่ะ คุณผู้อ่านท่านไหนสนใจลองมาแชร์ไอเดียกับแตบดีมั๊ยคะ?
3 ความคิดเห็น:
อยากกินห่อหมก...
แต่ค่ารถไปนครสวรรค์แพงกว่าค่าห่อหมกแน่เลย
ดีจังที่คุณแต๊บสนใจช่วยเหลือสังคม เคสนี้ออกจะแปลก(ในทางที่ดี)นะครับ ออกแนวสู้และมีหนทางสู้ช่วยเหลือตัวเองได้พอควร
อย่างนี้ทำอย่างไรต่อล่ะครับ บริจาคไปก็หมดปล่าว ออกค่ายอาสา ก็ไม่ไ้ด้ต้องการแรงาน
คิดไม่ออกครับ
แตบว่าก็ดีนะคะ ที่ทางโรงเรียนยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่ดูเหมือนภาระส่วนใหญ่จะตกอยู่กับครูบุปผาเพียงคนเดียว(ดูเหมือนโรงเรียนนี้จะเป็นสถานสงเคราะห์กลายๆไปแล้วนะคะ)
ครูเองอายุมากแล้ว ท่าทางสุขภาพก็ไม่ค่อยดี แต่ยังคงทำงานหนักเหมือนเดิม
ไม่ทราบเป็นไรค่ะ เวลาที่แตบเห็นคนอุทิศตนช่วยเหลือสังคมด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้วก็อดชื่นชมไม่ได้ แตบตั้งใจไว้ว่าจะหาเวลาไปเยี่ยมและถามไถ่ถึงปัญหากับครูบ้างสักวัน อยากมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนบ้าง ถึงแม้จะช่วยได้เพียงนิดหน่อยเท่าที่มีกำลังก็ยังดีกว่าปล่อยให้คนดีๆสู้อยู่เพียงลำพัง
ขอบคุณน้อง someone ที่เข้ามาร่วมพูดคุยด้วยมากๆนะคะ
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
แสดงความคิดเห็น